ติด ตม. จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไรดี?

อัปเดตใหม่! ชี้พิกัดสถานที่ทำพาสปอร์ตทั่วไทย ใครใกล้ที่ไหนรีบเช็กเลย

ติด ตม. ปัญหาที่น่าปวดหัวของทุกการเดินทางไปต่างประเทศ นอกจากจะทำให้แผนการเดินทางล่มไม่เป็นท่าแล้ว ยังทำให้เสียเวลาและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย

ปัญหาติด ตม. หรือการติดอยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองในประเทศนั้นๆ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการตรวจพบความผิดปกติของข้อมูลส่วนบุคคลและจุดประสงค์ของการเดินทาง หากท้ายที่สุดแล้วติด ตม. ขึ้นมา จะต้องรับมือแบบไหนและสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไรได้บ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย

 

สาเหตุที่อาจทำให้ติด ตม.

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วการเดินทางเข้าประเทศใดๆ นั้นมักจะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ง่ายๆ เพียงแค่มีเอกสารที่จำเป็นครบและกรอก Arrival Card อย่างครบถ้วน แต่ช่วงที่ผ่านมากลับพบว่าคนไทยติดด่าน ตม. ที่ประเทศเกาหลีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุหลักๆ ได้ ดังนี้

 

  1. เข้าข่ายต้องสงสัย

กรณีนี้อาจเกิดจากเอกสารไม่ครบถ้วนหรือไม่ละเอียดมากพอ จึงทำให้เข้าข่ายต้องสงสัยลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เช่น ภาพถ่ายบนบัตรไม่ตรงกับใบหน้าปัจจุบัน มีประวัติการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลบ่อยครั้งและอาจโชคร้ายไปซ้ำกับชื่อของผู้ที่มีประวัติไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงผู้ที่มีอาชีพค้าขาย เกษตรกร ผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัวหรือฟรีแลนซ์ก็มีความเสี่ยงที่จะติด ตม. ได้เช่นกัน

 

2.ระยะเวลาพำนักในประเทศนานผิดปกติ

ถึงแม้ว่าตามข้อกำหนดการเข้าพำนักที่ต่างประเทศ จะสามารถเดินทางและท่องเที่ยวที่ต่างประเทศเต็มจำนวนวันที่กำหนดได้โดยไม่มีปัญหา แต่สำหรับประเทศเกาหลีอาจเข้าข่ายต้องสงสัยและเสี่ยงติด ตม. ซึ่งหากไม่มีแผนการเดินทางที่แน่ชัดหรือไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอยู่ครบเต็มจำนวนวัน อาจเสี่ยงที่จะถูกส่งตัวกลับได้โดยง่าย

 

3.ไม่ชำนาญภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่อาจตัดสินได้ว่าจะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือไม่ หากไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เลย เมื่อเจ้าหน้าที่มีการซักถามจึงไม่สามารถตอบคำถามหรือสื่อสารไม่เข้าใจได้ อีกทั้งหากมีปัญหาจะทำให้ไม่สามารถเจรจาต่อรองได้และยังเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย

 

แก้ปัญหาอย่างไรเมื่อติด ตม.

ด่านแรก

หลังจากที่ลงจากเครื่องบินเมื่อถึงประเทศปลายทางแล้วจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนจึงจะสามารถเดินทางเข้าประเทศนั้นได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อถึงด่านแล้วจะต้องแสดงใบ ตม. หรือ Arrival Card ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน พร้อมกับแสดงพาสปอร์ต (Passport) ให้แก่เจ้าหน้าที่ ตม. จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการซักถามโดยทั่วไป เช่น

  • What’s the purpose of your visit ? (มาทำอะไร)
  • What is the name of your hotel you booking ? (โรงแรมชื่ออะไร)
  • Where will you be visiting ? (จะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง )
  • How much money are you bringing ? (แลกเงินมาเท่าไหร่)

 

ซึ่งจุดนี้อาจเป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้ใครหลายคนตกม้าตายและติด ตม. ได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่อาจพบข้อสงสัยบนเอกสารหรือการตอบคำถามที่ไม่น่าเชื่อถือจากการที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงพอ

 

ด่านที่สอง

หากติด ตม. ในขั้นตอนนี้ เจ้าหน้าที่จะมีการสอบถามและพิจารณาเพิ่มเติม แนะนำว่าให้ตั้งสติและเตรียมหลักฐานการเดินทางให้พร้อมมากที่สุด รวมถึงตอบคำถามและกรอกข้อมูลตามความเป็นจริง รวมถึงแสดงหลักฐานการจองห้องพัก ตั๋วเครื่องบิน หรือหากเดินทางมาหลายคนสามารถแจ้งชื่อผู้ที่เดินทางมาพร้อมกันได้และเรียกมาแสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการยืนยัน หากสามารถผ่านด่านนี้ไปได้ เจ้าหน้าที่จะให้แสกนนิ้ว ถ่ายรูป และแนบข้อมูลการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองแนบมาในพาสปอร์ต

 

ด่านสุดท้าย

แต่หากยังติด ตม. อยู่เนื่องจากปัญหาการสื่อสารหรือไม่มีใครมาแสดงตัวยืนยัน เจ้าหน้าที่จะเรียกเข้าไปสอบถามเพิ่มเติมเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนตัดสินว่าจะถูกส่งตัวกลับประเทศหรือไม่ หากมีเอกสารให้เซ็นต์แนะนำว่าควรอ่านและทำความเข้าใจให้แน่ชัดหรือหากพบข้อสงสัยให้รีบซักถามเจ้าหน้าที่ รวมถึงควบคุมอารมณ์ ปฏิบัติตามขั้นตอนและตอบคำถามให้ชัดเจน ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีล่ามแปลภาษาให้ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ เปิดกระเป๋าสัมภาระ หรือการตรวจสอบหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติม แต่หากใครสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้จะเป็นแต้มต่อในด่านนี้ได้มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ติด ตม. และถูกส่งตัวกลับ หากพบความไม่เป็นธรรม เช่น เจ้าหน้าที่ตม.ไม่ให้ทานอาหาร จึงอยากขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อสถานทูตเพื่อประสานงานและดำเนินการช่วยเหลือระหว่างก่อนการถูกส่งตัวกลับ ในกรณีร้ายแรงหากติด ตม. นานกว่า 1 อาทิตย์และยังไม่ถูกปล่อยตัวกลับประเทศไทย ให้ญาติติดต่อที่สถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น เพื่อประสานงานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

 

นอกจากปัญหาติด ตม. ที่ทำให้แพลนเที่ยวล่มไม่เป็นท่าแล้ว ยังมีอีกหลายอุปสรรคที่คาดไม่ถึงระหว่างการเดินทาง เช่น เที่ยวบินล่าเช้า กระเป๋าเดินทางหายหรือถูกโจรกรรม รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ จึงควรทำประกันการเดินทางทุกครั้งก่อนออกเดินทางท่องเที่ยว โดยสามารถเลือกกรมธรรม์และความคุ้มครองได้ที่ Rabbit Care รวมถึงศึกษาข้อมูลและเตรียมเอกสารการเดินทางให้ครบถ้วน เพื่อการทริปเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่นและอุ่นใจตลอดการเดินทาง